สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า: ผลกระทบต่อตลาดโลหะกลุ่มแพลทินัม การรีไซเคิล และความต้องการทั่วโลกต่อแพลทินัม พัลลาเดียม และโรเดียม

POSTED BY PATY MAK

How U.S. Tariffs Impact the PGM Market, Recycling, and Global Demand for Platinum, Palladium, and Rhodiumมาตรการภาษีศุลกากรล่าสุดของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลทรัมป์กำลังเปลี่ยนแปลงทิศทางการค้าทั่วโลก โดยตลาดโลหะกลุ่มแพลทินัม (PGM) กำลังเผชิญผลกระทบอย่างชัดเจน แม้ว่าแพลตตินัม พัลลาเดียม และโรเดียมจะไม่ถูกเก็บภาษีโดยตรง แต่มาตรการภาษี 25% สำหรับการนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ มีแนวโน้มสร้างความปั่นป่วนอย่างมากต่อห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์ของ PGM ในระดับโลก

ผลกระทบของภาษีศุลกากรสหรัฐฯ ต่อความต้องการ PGM ทั่วโลก

อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นผู้บริโภคโลหะ PGM รายใหญ่ที่สุด โดยพัลลาเดียมและโรเดียมถูกใช้อย่างแพร่หลายในระบบกรองไอเสียของเครื่องยนต์เบนซิน ขณะที่แพลทินัมมีบทบาทสำคัญในระบบดีเซลและเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงที่กำลังเติบโต อย่างไรก็ตาม การที่สหรัฐฯ กลายเป็นตลาดที่ไม่น่าดึงดูดสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกเนื่องจากมาตรการภาษี ทำให้การคาดการณ์กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมถูกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าความต้องการแพลตตินัมทั่วโลกอาจลดลง 1% ขณะที่ความต้องการพัลลาเดียมอาจลดลงถึง 4% โรเดียมซึ่งมีบทบาทเฉพาะทางและมีความผันผวนก็อาจเผชิญกับการหยุดชะงักเช่นกัน การลดลงของความต้องการเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อผู้ผลิตรถยนต์ ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วน และโรงกลั่นในยุโรป เอเชีย ละตินอเมริกา และพื้นที่อื่น ๆ

ผลกระทบของภาษีศุลกากรต่ออุตสาหกรรมรีไซเคิล PGM

อุตสาหกรรมรีไซเคิล PGM กำลังเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะด้านการรีไซเคิล PGM จากท่อแคทตาไลติกคอนเวอรเตอร์ ยิ่งการผลิตยานยนต์ลดลง รถยนต์ที่หมดสภาพการใช้งานก็ลดลง ส่งผลให้จำนวนท่อแคทตาไลติกคอนเวอรเตอร์เก่าสำหรับรีไซเคิลลดน้อยลงไปกว่าเดิม

แต่อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลโลหะ PGM อาจกลายเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีความสำคัญและมีมูลค่ามากขึ้น เมื่อซัพพลายเชนหลักกำลังเผชิญกับต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น สำหรับประเทศที่มีนวัตกรรมการรีไซเคิลที่พัฒนาแล้วอย่าง เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้ อาจมีแนวโน้มที่จะหันไปใช้วัสดุ PGM ที่มาจากการรีไซเคิลมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตต่างก็กำลังมองหาวิตถุดิบจากแหล่งทางเลือกที่ปลอดภาษี

การรีไซเคิลโลหะ PGM บทบาทสำคัญที่กำลังเพิ่มขึ้น

การรีไซเคิลแคทตาไลติกคอนเวอร์เตอร์มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในฐานะแหล่งวัตถุดิบโลหะ PGM มือสอง โดยเฉพาะในภูมิภาคนอกสหรัฐฯ ผู้ประกอบการในยุโรปและเอเชียอาจกลายเป็นกลไกสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของอุปทานและราคาโลหะมีค่าเหล่านี้ พวกเขาอาจอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบมากขึ้นในการทำข้อตกลงจัดซื้อ และเพิ่มปริมาณการแปรรูปโลหะรีไซเคิล

ผลกระทบจากภาษีของสหรัฐฯ ต่อผู้ผลิตและโรงสกัด PGM ทั่วโลก

แม้ว่าโลหะ PGM จะไม่ถูกเก็บภาษีโดยตรงจากสหรัฐฯ แต่การบังคับใช้ภาษีฐานนำเข้า 10% ยังคงส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านอุปกรณ์การสกัดโลหะ อะไหล่ชิ้นส่วน และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งนับเป็นผลกระทบทางอ้อมต่อผู้ประกอบการตลอดสายการผลิต

ประเทศผู้ส่งออกหลักอย่างแอฟริกาใต้และรัสเซีย อาจเผชิญกับความต้องการจากสหรัฐฯ ที่ลดลง ทำให้พวกเขาอาจต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การผลิตและขยายตลาดไปยังภูมิภาคอื่น ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตในประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ ก็อาจเริ่มปรับตัวด้วยการหันมาใช้วัตถุดิบในประเทศตนเองแทน และลดการพึ่งพาซัพพลายที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ

ในระยะยาว ความต้องการใช้ PGM อาจเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางของเทคโนโลยีสีเขียว อย่างการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อสมดุลในการใช้โลหะ แพลทินัม พัลลาเดียม และโรเดียม

ข้อสรุป

มาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่กำหนดต่อภาคยานยนต์กำลังส่งอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่ออุตสาหกรรมโลหะกลุ่มแพลตตินัมทั่วโลก ผลกระทบมีตั้งแต่ความต้องการของผู้ผลิตรถยนต์ไปจนถึงการดำเนินงานด้านรีไซเคิล และกำลังเปลี่ยนแปลงความคล่องแคล่วของตลาดอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางความผันผวนนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม PGM จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น ปรับแนวทางการจัดซื้อใหม่ และเตรียมพร้อมรับมือกับความต้องการของตลาดโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

แพลทินัม พัลลาเดียม และโรเดียม ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ หรือไม่?

ไม่ ในขณะนี้โลหะ PGM ยังไม่ถูกเก็บภาษีโดยตรง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคยานยนต์ อาจได้รับผลกระทบทางอ้อม ซึ่งจะส่งผลต่อราคาและความต้องการในโลหะ PGM
 

ภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่มีต่อรถยนต์นำเข้า ส่งผลต่อการรีไซเคิลแคทตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ทั่วโลกอย่างไร?

ภาษีเหล่านี้อาจส่งผลให้การส่งออกรถยนต์ไปยังตลาดสหรัฐฯ ลดลง ซึ่งนำไปสู่ยอดขายรถยนต์ที่ลดลงทั่วโลก เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของรถยนต์ช้าลง หมายถึงจำนวนรถยนต์หมดอายุการใช้งานและแคทตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ที่พร้อมสำหรับการรีไซเคิลในประเทศที่เน้นการส่งออกก็จะน้อยลงตามไปด้วย
 

ประเทศใดอาจได้ประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ PGM รีไซเคิล?

ประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการรีไซเคิลที่แข็งแกร่ง เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้ อาจได้รับประโยชน์ เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ มองหาทางเลือกที่ปลอดภาษีในการจัดหาวัตถุดิบ
 

การรีไซเคิลแคทาไลติกคอนเวอร์เตอร์มีความสำคัญมากขึ้นในตอนนี้หรือไม่?

ใช่ ความจำเป็นในการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากทั้งข้อจำกัดด้านการค้า ราคาที่ผันผวน และเป้าหมายด้านความยั่งยืน ทำให้การรีไซเคิลกลายเป็นแหล่งจัดหา PGM ที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์
 

ภาษีศุลกากรสหรัฐฯ อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาวในตลาด PGM หรือไม่?

ใช่ ภาษีศุลกากรสหรัฐฯ อาจเร่งให้เกิดทิศทางการลงทุนอื่น อย่างเช่น การจัดหาทรัพยากรในประเทศ การลงทุนด้านนวัตกรรมรีไซเคิล และด้านเทคโนโลยีที่ลดการพึ่งพาโลหะ PGM หรือทางเลือกอื่น ๆ